top-button
การอบรมบุคลากรในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ โรงงานปลายน้ำ และผู้ปฏิบัติงานในโรงหลอมเศษโลหะ

1. ชื่อหลักสูตร

แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) เพื่อลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ

(U-POPs) จากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ

2. หลักการและเหตุผล

อนุสัญญาสตอกโฮล์มระบุให้สารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (Unintentionally produced Persistent Organic Pollutants : U-POPs)

เช่น ไดออกซินและฟิวแรน เป็นสารพิษร้ายแรงที่จำเป็นต้องถูกกำจัดหรือป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น และเนื่องจากอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการปลดปล่อย U-POPs ในปริมาณสูง

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่และองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) จึงให้ความสำคัญกับการลดและกำจัด U-POPs ในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ และได้นำเสนอแนวทางการลดและกำจัดสารมลพิษดังกล่าว โดยการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด

(BEP) ไปใช้ในการจัดการตั้งแต่ต้นทางเพื่อป้องกันการเกิด U-POPs เช่น การคัดแยกเศษโลหะและสารปนเปื้อน การทำความสะอาดเศษโลหะ เป็นต้น ไปจนถึงการจัดการปลายทางเพื่อบำบัดหรือกำจัด U-POPs ที่เกิดขึ้น เพื่อลดการปลดปล่อย U-POPs จากอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ

การฝึกอบรมครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ U-POPs ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกับเศษโลหะในห่วงโซ่อุปทานตามยุทธศาสตร์การผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน รวมทั้งการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ลดการปลดปล่อย U-POPs ตลอดโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะให้แก่บุคลากรในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิลเศษโลหะ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและยกระดับการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการผลักดันให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

3. วัตถุประสงค์

3.1   เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ

(U-POPs) เช่น ไดออกซินและฟิวแรน เป็นต้น

รวมถึงแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

3.2   เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ในการลดและป้องกันการเกิด U-POPs และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละภาคส่วนของโซ่อุปทานอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ

3.3   เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปพัฒนาและยกระดับ

การจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4. กลุ่มเป้าหมาย

หลักสูตรแบ่งออกเป็น 9 ชุดวิชา (Module) สำหรับบุคลากรในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะโรงหลอมโลหะ

และโรงงานที่ใช้โลหะเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์

•       ชุดวิชาที่ 11-17 เหมาะสำหรับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม หรือบุคลากรทั่วไปที่มีความสนใจ

•       ชุดวิชาที่ 18-19 เหมาะสำหรับผู้ควบคุมหรือผู้ปฏิบัติงานที่ใกล้ชิดเครื่องจักร

5. สถานที่จัดการฝึกอบรม

ห้องประชุมสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมสินสาคร เลขที่ 30/1 หมู่ที่ 2 ถนนเจษฎาวิถี ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000

6. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

รับจำนวน 50 คน ต่อ 1 ชุดวิชา (ไม่มีค่าใช้จ่าย / ฟรีอาหารว่าง อาหารกลางวัน และเครื่องดื่ม)

7. วิธีการฝึกอบรม

- การบรรยายโดยวิทยากร

- การอภิปรายกลุ่มและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการรับชมวีดิทัศน์ในห้องฝึกอบรม (Onsite)

8.  ระยะเวลาของหลักสูตร

ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม ถึง 7 กันยายน 2565 (กำหนดการโดยรายละเอียดอยู่ด้านล่าง)

9. วิธีการวัดและประเมินผลแต่ละชุดวิชา

•       การทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ก่อนและหลังฝึกอบรม (Pre & Post Test)

•       การประเมินผลความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม

10. งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน

·   กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility : GEF)

11. ตัวชี้วัด

11.1  ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

-  จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 50 คน/ชุดวิชา

11.2 ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

-  ร้อยละ 75 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

12. การรับประกาศนียบัตร

•       กรมอุตสาหกรรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จะมอบประกาศนียบัตรสำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์เป็นรายชุดวิชา

•       ผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านเกณฑ์การรับประกาศนียบัตรต้องเข้ารับการอบรมตลอดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละชุดวิชา

•       ผู้เข้ารับการอบรมต้องมีผลประเมินการเรียนรู้หลักการฝึกอบรม (Post-test) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

13. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กฎหมายกฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และการจัดการเศษโลหะในห่วงโซ่อุปทานตามยุทธศาสตร์การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน และการผลักดันให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ลดและกำจัดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

14. วิธีการลงทะเบียน

1. ทะเบียนตาม link

2. กรอกข้อมูลส่วนตัว (ชื่อ / หมายเลขโทรศัพท์ / อีเมล์ / หน่วยงาน)

3. เลือกชุดวิชา (MODULE) ที่ต้องการสมัคร (เลือกได้มากกว่าหนึ่ง)

4. ติดตามอีเมล์จากผู้จัด greenscrapmetalthailand@gmail.com


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่

นายเชาวนันท์ พิลาออน วิศวกรโลหการชำนาญการ หมายเลขโทรศัพท์ 09 8952 9536

นายอาทิตย์ บุญจินดาทรัพย์ นักวิจัย หมายเลขโทรศัพท์ 08 3685 13335 หรือ 08 1319 6526 

ดาวน์โหลดรายละเอียดหลักสูตร