top-button

อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานมีการลงนามครั้งแรกที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2544 โดยมีประเทศที่ให้สัตยาบันทั้งสิ้น 184 ประเทศ (ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563) ประเทศไทยได้ร่วมลงนามเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 และให้สัตยาบันในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2548

จุดมุ่งหมายของอนุสัญญาฯ

อนุสัญญาฯ มีจุดมุ่งหมายคือการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Persistant Organic Pollutants: POPs) โดยการลด/เลิก การผลิต การใช้ และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ยาก สะสมได้ในเนื้อเยื่อไขมันของมนุษย์และสัตว์ มีสมบัติเป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมต่างๆ

ในช่วงเริ่มต้นของอนุสัญญาฯ ได้มีการเสนอบัญชีสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานทั้งสิ้น 12 รายการ และมีการเพิ่มเติมในบัญชีเป็นระยะ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มที่ห้ามผลิตและห้ามใช้
  2. Aldrin Chlordane Chlordecone Decabromodiphenyl ether (commercial mixture, c-decaBDE) Dicofol Dieldrin Endrin Heptachlor Hexabromobiphenyl Hexabromocyclododecane (HBCDD) Hexabromodiphenyl ether and heptabromodiphenyl ether Hexachlorobenzene (HCB) Hexachlorobutadiene (HCBD) Alpha hexachlorocyclohexane Beta hexachlorocyclohexane Lindane Mirex Pentachlorobenzene Pentachlorophenol and its salts and esters Polychlorinated biphenyls (PCB) Polychlorinated naphthalenes Perfluorooctanoic acid (PFOA), its salts and PFOA-related compounds Short-chain chlorinated paraffins (SCCPs) Technical endosulfan and its related isomers Tetrabromodiphenyl ether and pentabromodiphenyl ether Toxaphene
  3. กลุ่มที่ควบคุมการผลิตและการใช้
  4. DDT Perfluorooctane sulfonic acid, its salts and perfluorooctane sulfonyl fluoride
  5. กลุ่มที่ปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs)
  6. Hexachlorobenzene (HCB) Hexachlorobutadiene (HCBD) Pentachlorobenzene Polychlorinated biphenyls (PCB) Polychlorinated dibenzo-p-dioxins (PCDD) Polychlorinated dibenzofurans (PCDF) Polychlorinated naphthalenes = สารกำจัดศัตรูพืช = สารเคมีจากอุตสาหกรรม = สารปลดปล่อยโดยไม่จงใจ

พันธกิจของอนุสัญญาฯ

  1. ใช้มาตรการทางกฎหมายและการบริหารในการห้ามผลิตและใช้สาร POPs ประเภทปลดปล่อยโดยไม่ตั้งใจ
  2. นําเข้า/ส่งออกสาร POPs ได้เฉพาะตามวัตถุประสงค์ที่อนุญาต
  3. ส่งเสริมการใช้สารทดแทน แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (Best Available Techniques: BAT)และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (Best Environmental Practices: BEP) เพื่อลดการปลดปล่อยสาร POPs ประเภทปลดปล่อยโดยไม่ตั้งใจโดยพิจารณาดําเนินการภายใต้ศักยภาพและขีดความสามารถของประเทศ
  4. สถานที่เก็บสาร POPs ต้องได้รับการดูแลไม่ให้ส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งต้องดูแลจัดการของเสียที่เกิดจากสาร POPs และพื้นที่ปนเปื้อนอย่างเหมาะสม
  5. จัดทําแผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯและจัดส่งให้ที่ประชุมรัฐภาคีภายใน 2 ปีหลังจากอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ มีผลบังคบใช้ในประเทศ รวมทั้งพิจารณาทบทวนและปรับปรุงแผนจัดการฯ ให้ทันสมัยตามที่เหมาะสม
  6. ให้ผู้บริหารและผู้กําหนดนโยบายมีความเข้าใจเรื่องสาร POPs
  7. เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสาร POPs แก่สาธารณชน รวมทั้งกําหนดแผนและแนวปฏิบัติในการประชาสัมพันธ์ให้สตรีเด็ก และผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาทราบเรื่องสารดังกล่าวและภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม
  8. สนับสนุนให้มีการวิจัยเรื่องผลกระทบต่างๆจากสาร POPs ทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ
  9. ตั้งศูนย์ประสานงานระดับชาติเพื่อทําหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและหน้าที่อื่นๆ

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Stockholm Convention

Reference

  • http://www.pops.int
  • http://pops.pcd.go.th