top-button
ขอเชิญบุคลากรภาครัฐและนักวิชาการเข้ารับการฝึกอบรมแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) เพื่อลดการปลดปล่อย U-POPs จากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ

1. ชื่อหลักสูตร

แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) เพื่อลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) จากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ

2. หลักการและเหตุผล

อนุสัญญาสตอกโฮล์มระบุให้สารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (Unintentionally produced Persistent Organic Pollutants : U-POPs) เช่น ไดออกซินและฟิวแรน เป็นสารพิษร้ายแรงที่จำเป็นต้องถูกกำจัดหรือป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น และเนื่องจากอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มี

การปลดปล่อย U-POPs ในปริมาณสูง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่และองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) จึงให้ความสำคัญกับการลดและกำจัด U-POPs ในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ จึงได้นำเสนอแนวทางการลดและกำจัดสารมลพิษดังกล่าว โดยการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ในการจัดการตั้งแต่ต้นทางเพื่อป้องกันการเกิด U-POPs เช่น การคัดแยกเศษโลหะและสารปนเปื้อน การทำความสะอาดเศษโลหะ เป็นต้น ไปจนถึงการจัดการปลายทางเพื่อบำบัดหรือกำจัด U-POPs ที่เกิดขึ้น เพื่อลดการปลดปล่อย U-POPs จากอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ

การฝึกอบรมครั้งนี้ จัดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ U-POPs ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กฏหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และการจัดการเศษโลหะในห่วงโซ่อุปทานตามยุทธศาสตร์การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน รวมทั้งการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ลดการปลดปล่อย U-POPs และประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรภาครัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและกำหนดนโยบายในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ รวมถึง

ภาคการศึกษา หน่วยงานวิจัย และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs)

3. วัตถุประสงค์

3.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมรีไซเคิล

เศษโลหะอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) โดยเฉพาะสารประเภทไดออกซินและฟิวแรนซึ่งเป็นสารก่อกลายพันธุ์ รวมถึงเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทางเคมีของสารมลพิษดังกล่าว

3.3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ในการลดการปลดปล่อย U-POPs จากอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ

3.4 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของภาครัฐ ในการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ การตรวจสอบและเฝ้าระวัง และการกำหนดข้อบังคับหรือมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อลดและป้องกันการเกิด U-POPs ในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ

4. กลุ่มเป้าหมาย

·   บุคลากรภาครัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและกำหนดนโยบายในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ รวมถึงภาคการศึกษา หน่วยงานวิจัย และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) รวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 250 คน

5. วิธีการฝึกอบรม

·   การบรรยาย การอภิปราย และการชมวีดิทัศน์ ผ่านระบบออนไลน์

·   การศึกษาดูงาน ณ ห้องปฏิบัติการไดออกซิน

6. องค์ประกอบหลักสูตรการฝึกอบรม ประกอบด้วย 5 ชุดวิชา ดังนี้

·   ชุดวิชา 1 สารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs)

·   ชุดวิชา 2 นโยบาย กฎหมาย และข้อบังคับ

·   ชุดวิชา 3 อุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะกับการปลดปล่อย U-POPs

·   ชุดวิชา 4 การจัดการกับ U-POPs ในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ

·   ชุดวิชา 5 เทคนิคการเก็บตัวอย่างและตรวจวิเคราะห์สารมลพิษ U-POPs

7. สถานที่จัดฝึกอบรม

·   ชุดวิชาที่ 1-4 อบรมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meetings

·   ชุดวิชาที่ 5

วันที่ 1    อบรมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meetings

วันที่ 2     อบรมที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่ 3     กลุ่ม 1 ศึกษาดูงาน ณ บริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด อาคารอื้อจื่อเหลียง

ถนนพระราม 4 (จำนวน 25 คน)

กลุ่ม 2 ศึกษาดูงาน ณ ห้องปฏิบัติการไดออกซิน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รังสิตคลอง 5 (จำนวน 25 คน)

8. จำนวนผู้เข้ารับการอบรมแต่ละชุดวิชา

·   50 คน/ชุดวิชา รวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 250 คน

9. วิธีการวัดและประเมินผลแต่ละชุดวิชา

·   การทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ก่อนและหลังฝึกอบรม (Pre & Post Test)

·   การประเมินผลความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม

10. งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน

·   กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility : GEF)

10. ตัวชี้วัด

·   ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

-       จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 50 คน/ชุดวิชา

·   ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

-       ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดย

ไม่จงใจ (U-POPs) ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของสารไดออกซินและฟิวแรน กฏหมาย ข้อบังคับ แผนการ ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกับเศษโลหะในห่วงโซ่อุปทานตามยุทธศาสตร์การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน รวมทั้งได้การนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ลดและกำจัดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่

นายเชาวนันท์ พิลาออน วิศวกรโลหการชำนาญการ หมายเลขโทรศัพท์ 09 8952 9536

นายอาทิตย์ บุญจินดาทรัพย์ นักวิจัย หมายเลขโทรศัพท์ 08 3685 13335 หรือ 08 1319 6526 

ดาวน์โหลดรายละเอียดหลักสูตร (Download *.pdf)