top-button
การฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพของพนักงานในโรงงานหลอมเศษโลหะ
วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

โครงการ Greening the Scrap Metal Value Chain through Promotion of BAT/BEP to Reduce U-POPs Releases from Recycling Facilities ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) ได้มอบหมายให้สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย (ISIT) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อแนะนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ในการจัดการเศษโลหะ การเตรียมวัตถุดิบ และการหลอมเพื่อลดการปล่อย สารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) จากอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ จำนวน ๓ ชุดวิชา คือ

1. ชุดวิชาที่ 1 บทนำของการเกิดสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) ภายในโรงงาน

2. ชุดวิชาที่ 2 กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับอุตสาหกรรมเศษโลหะและกลไก มาตรการสนับสนุนการลงทุน

3. ชุดวิชาที่ 3 การประยุกต์ใช้ BAT/BEP เพื่อลดการเกิดสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่ตั้งใจ (U-POPs) ซี่งแบ่งเป็น ระบบการปรับปรุงคุณภาพเศษโลหะ และระบบการเผาไหม้ไอเสียจากการหลอมโลหะ 

และสถาบันฯ ได้จัดการฝึกอบรมดังกล่าวให้กับโรงงานนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 4 แห่ง ดังนี้

1. เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 อบรมให้กับ บริษัท ปัญญารักษา จำกัด จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีพนักงานเข้าร่วมจำนวน 20 คน

2. เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 อบรมให้กับ บริษัท ไดกิ อลูมิเนียม อินดัสทรี (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดชลบุรี โดยมีพนักงานเข้าร่วมจำนวน 19 คน

3. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 อบรมให้กับ บริษัท ไทยเม็ททอล อลูมิเนียม จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีพนักงานเข้าร่วมจำนวน 23 คน

4. เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 อบรมให้กับ บริษัท ทาทา สตีล การผลิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ณ สาขาโรงงาน NTS จังหวัดชลบุรี โดยมีพนักงานเข้าร่วมจำนวน 23 คน

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ชวิน จองวรรณศิริ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นายณัฐพล รัตนมาลี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรม สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย นายคาถา แก้วสมบูรณ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท ชูไก โระ (ประเทศไทย) จำกัด และ Mr.Bernard Jubre, Representative of Southeast Asia Zato Recycling Solutions เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ U-POPs และผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การจัดการกับเศษโลหะในห่วงโซ่อุปทานตามยุทธศาสตร์การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน การนำ BAT/BEP) ไปใช้ลดการปลดปล่อย U-POPs ให้กับพนักงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการหลอมหล่อเหล็กกล้า อลูมิเนียม และตะกั่ว เนื่องจากเป็นโลหะที่ประเทศไทยมีปริมาณการใช้งานสูงและเป็นอุตสาหกรรมที่มีโอกาสสูงที่สามารถลดการปลดปล่อย U-POPs ได้