top-button
การอบรมหลักสูตรสำหรับบุคลากรภาครัฐในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ รวมถึงภาคการศึกษา หน่วยงานวิจัย และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ชุดวิชาที่ 5 เทคนิคการเก็บตัวอย่างและตรวจวิเคราะห์สารมลพิษ U-POPs

รายละเอียดหลักสูตรการฝึกอบรม

แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) เพื่อลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน

ประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) จากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ ภายใต้การดำเนินโครงการ

Greening the Scrap Metal Value Chain through Promotion of BAT/BEP to Reduce U-POPs Releases from Recycling Facilities

ชื่อหลักสูตร

แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) เพื่อลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) จากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ

หลักการและเหตุผล

อนุสัญญาสตอกโฮล์มระบุให้สารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (Unintentionally produced Persistent Organic Pollutants : U-POPs) เช่น ไดออกซินและฟิวแรน เป็นสารพิษร้ายแรงที่จำเป็นต้องถูกกำจัดหรือป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น และเนื่องจากอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการปลดปล่อย U-POPs ในปริมาณสูง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่และองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) จึงให้ความสำคัญกับการลดและกำจัด U-POPs ในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ จึงได้นำเสนอแนวทางการลดและกำจัดสารมลพิษดังกล่าว โดยการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ในการจัดการตั้งแต่ต้นทางเพื่อป้องกันการเกิด U-POPs เช่น การคัดแยกเศษโลหะและสารปนเปื้อน การทำความสะอาดเศษโลหะ เป็นต้น ไปจนถึงการจัดการปลายทางเพื่อบำบัดหรือกำจัด U-POPs ที่เกิดขึ้น เพื่อลดการปลดปล่อย U-POPs จากอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ

การฝึกอบรมครั้งนี้ จัดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ U-POPs ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กฏหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และการจัดการเศษโลหะในห่วงโซ่อุปทานตามยุทธศาสตร์การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน รวมทั้งการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ลดการปลดปล่อย U-POPs และประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรภาครัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและกำหนดนโยบายในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ รวมถึงภาคการศึกษา หน่วยงานวิจัย และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) โดยเฉพาะสารประเภทไดออกซินและฟิวแรนซึ่งเป็นสารก่อกลายพันธุ์ รวมถึงเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทางเคมีของสารมลพิษดังกล่าว
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ในการลดการปลดปล่อย U-POPs จากอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ
  4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของภาครัฐ ในการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ การตรวจสอบและเฝ้าระวัง และการกำหนดข้อบังคับหรือมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดและป้องกันการเกิด U-POPs ในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ

จำนวนผู้เข้ารับการอบรมแต่ละชุดวิชา

จำนวน 150 คน

ไม่มีค่าใช้จ่าย / ฟรีอาหารว่าง อาหารกลางวัน และเครื่องดื่ม

วิธีการฝึกอบรม

  • การบรรยาย การอภิปราย และการชมวีดิทัศน์
  • การศึกษาดูงาน ณ ห้องปฏิบัติการไดออกซิน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือ บจก.พาราไซแอนติฟิค

ระยะเวลาของหลักสูตร

ระหว่างวันที่ 29-31 พฤษภาคม 2566 (รายละเอียดและกำหนดการ คลิกที่นี่)

ปิดรับสมัคร วันเสารที่ 27 พฤษภาคม 2566

กลุ่มเป้าหมาย

บุคลากรภาครัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและกำหนดนโยบายในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ รวมถึงภาคการศึกษา หน่วยงานวิจัย และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs)

การรับประกาศนียบัตร

  • กรมอุตสาหกรรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จะมอบประกาศนียบัตรสำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์เป็นรายชุดวิชา
  • ผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านเกณฑ์การรับประกาศนียบัตรต้องเข้ารับการอบรมตลอดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละชุดวิชา
  • ผู้เข้ารับการอบรมต้องมีผลประเมินการเรียนรู้หลักการฝึกอบรม (Post-test) ไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 75

สถานที่จัดฝึกอบรม

- ห้องประชุมอาคารสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง (40 ซ.ฉลองกรุง 31 แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520)

- บริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด (968 อาคารอื้อจือเหลียง ชั้นที่ 7 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500)

- ห้องปฏิบัติการไดออกซิน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของสารไดออกซินและฟิวแรน กฏหมาย ข้อบังคับ แผนการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกับเศษโลหะในห่วงโซ่อุปทานตามยุทธศาสตร์การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน รวมทั้งได้การนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ลดและกำจัดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการลงทะเบียน

1. คลิกที่นี่

2. กรอกข้อมูลส่วนตัว (อีเมล์ / ชื่อ / หน่วยงาน / หมายเลขโทรศัพท์ / ที่อยู่ในการจัดส่งประกาศนียบัตร)

3. ยินยอมให้ผู้จัดเก็บภาพและวิดีโอ ก่อน ระหว่าง และหลังการอบรม

4. ติดตามอีเมล์การลงทะเบียนเรียบร้อย (Google Forms)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

คุณพิชญ์สุกานต์ญา มังคลวโรดม โทร. 081-664-5441

คุณบรรณกร บุญจินดาทรัพย์ โทร. 083-614-9226

คุณสุธิดา บุญจินดาทรัพย์ โทร. 081-319-6526

คุณกนกภรณ์ เกษบุตร โทร. 081-611-5424