top-button
โครงการฯ จัดการฝึกอบรมหลักสูตรสำหรับโรงหลอมเศษโลหะและโรงงานที่ใช้โลหะเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์
วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566

ในระหว่างวันที่ ๒๓ ถึง ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๖ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้จัดการฝึกอบรมแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) เพื่อลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) จากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ ภายใต้การดำเนินโครงการ Greening the Scrap Metal Value Chain through Promotion of BAT/BEP to Reduce U-POPs Releases from Recycling Facilities โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และการจัดการเศษโลหะในห่วงโซ่อุปทานตามยุทธศาสตร์การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน รวมทั้งการนำแนวทางด้านเทคนิค ที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) และประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงหลอมเศษโลหะและโรงงานที่ใช้โลหะเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ จำนวน ๓ ชุดวิชา แบบ Hybrid โดยมีรายละเอียดการจัดอบรม ดังนี้

- ชุดวิชาที่ ๑๘ : การใช้เทคโนโลยีและแนวทางปฏิบัติของ BAT/BEP เพื่อปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบ (สำหรับผู้ควบคุมหรือผู้ปฏิบัติงานที่ใกล้ชิดเครื่องจักร) เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ และผ่าน Application Zoom ได้รับเกียรติจาก ดร. โฉมศรี ชูช่วย (คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และ ดร. วรนุช ดีละมัน (อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร) เป็นวิทยากร ซึ่งมีผู้เข้าอบรม จำนวน ๑๑๔ คน

 - ชุดวิชาที่ ๑๙ : การใช้เทคโนโลยีและแนวทางการปฏิบัติของ BAT/BEP (สำหรับกระบวนการที่ใช้ความร้อนการบำบัดมลพิษ)(สำหรับผู้ควบคุมหรือผู้ปฏิบัติงานที่ใกล้ชิดเครื่องจักร) เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ และผ่าน Application Zoom ได้รับเกียรติจาก ดร. โฉมศรี ชูช่วย (คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และ ดร. วรนุช ดีละมัน (อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร) เป็นวิทยากร ซึ่งมีผู้เข้าอบรม จำนวน ๑๑๔ คน

 - ชุดวิชาที่ ๑๗ : กฎหมายและข้อบังคับ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ และผ่าน Application Zoom ได้รับเกียรติจาก คุณธีราพร วิริวุฒิกร (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ) เป็นวิทยากร ซึ่งมีผู้เข้าอบรม จำนวน ๙๕ คน

ทั้งนี้ ผลการประเมินการฝึกอบรมแสดงให้เห็นว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและแนวทางปฏิบัติในการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ในการลดการปลดปล่อย U-POPs จากอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะมากขึ้น รวมถึงกฎหมายและข้อบังคับในการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) โดยเฉพาะสารประเภทไดออกซินและฟิวแรนมากขึ้น