top-button
เปิดแล้วค่ะ!!! อบรมฟรี หลักสูตรสำหรับบุคลากรภาครัฐ ภาคการศึกษา หน่วยงานวิจัย และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs)
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566

อบรมฟรี!! พร้อมแจกใบประกาศ หลักสูตรสำหรับบุคลากรภาครัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและกำหนดนโยบายในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ

ในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ รวมถึงภาคการศึกษา หน่วยงานวิจัย และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs)


ด้วยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ(UNIDO) และคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้กำหนดจัดการฝึกอบรมแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) เพื่อลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) จากแหล่งกำเนิดประเภทอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ ภายใต้การดำเนินโครงการ Greening the Scrap Metal Value Chain through Promotion of BAT/BEP to Reduce U-POPs Releases from Recycling Facilities ซึ่งสนับสนุนโดยกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ U-POPs ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กฏหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และการจัดการเศษโลหะในห่วงโซ่อุปทานตามยุทธศาสตร์การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน รวมทั้งการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BEP) ไปใช้ลดการปลดปล่อย U-POPs และประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรภาครัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและกำหนดนโยบายในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะ รวมถึงภาคการศึกษา หน่วยงานวิจัย และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ในระหว่างวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมอาคารสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ และผ่าน Application Zoom จำนวน 3 ชุดวิชา ดังนี้


วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 :: ชุดวิชาที่ 1 สารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs) หมดเขตรับสมัครวันที่ 31 มกราคม 2566

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 :: ชุดวิชาที่ 2 นโยบาย กฎหมาย และข้อบังคับ หมดเขตรับสมัครวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 :: ชุดวิชาที่ 3 อุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะกับการปลดปล่อย U-POPs หมดเขตรับสมัครวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566


ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ และ ดร. รุจยา บุณยทุมานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มไดออกซินและสารตกค้างยาวนาน ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้



รายละเอียดเพิ่มเติมและการลงทะเบียน คลิกที่นี่