top-button
รับสมัครโรงงานเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563

การรับสมัครโรงงานเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม

1. สิ่งที่โรงงานจะได้รับ

1.1 ข้อมูลปัจจุบันด้านการควบคุมและการจัดการความปลอดภัยเกี่ยวกับสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่จงใจ (U-POPs)

1.2 การถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมให้แก่บุคลากรในโรงงานเกี่ยวกับแนวทางการประยุกต์ใช้ BAT/BEP ที่เหมาะสมกับกิจกรรมการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

1.3 คำปรึกษาและเทคนิคเฉพาะทางจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้สามารถนำ BAT/BEP ไปปรับใช้ในโรงงานได้จริง

2. หลักเกณฑ์การคัดเลือกโรงงานเข้าร่วมโครงการ

2.1 โรงงานที่เข้าร่วมจะต้องเป็นโรงงานอุตสาหกรรมรีไซเคิลเศษโลหะในประเทศไทย

        2.1.1 ให้ความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

      2.1.2 มีความพร้อมในการพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานและสร้างศักยภาพในการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุดและแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BAT/BEP) มาใช้ในกระบวนการรีไซเคิลเศษโลหะ

2.2 แผนการลงทุน

        2.2.1 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตภายในโรงงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการนำแนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุดและแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (BAT/BEP) ไปใช้ลดการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ (U-POPs)

        2.2.2 มีระยะเวลาดำเนินงานแล้วเสร็จไม่เกินปี 2565 

2.3 ให้ความร่วมมือเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับ U-POPs การพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาศักยภาพในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของการรีไซเคิลเศษโลหะของประเทศไทยอย่างเหมาะสมให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

3. ขั้นตอนการรับการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3.1 โรงงานส่งจดหมายในนามของบริษัทแจ้งความจำนงสมัครเข้าร่วมโครงการ (Co -Finance Letter) ถึง กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) พร้อมข้อมูลรายละเอียดของบริษัท ขั้นตอนการผลิตในปัจจุบันและแผนการปรับปรุงฯ

3.2 คณะทำงานด้านเทคนิคของโครงการ (TWG3) พิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมกับงบลงทุนที่บริษัทเสนอ ทั้งนี้ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยประสานข้อมูลด้านเทคนิคเพิ่มเติมจากบริษัท (ถ้าจำเป็น)

3.3 คณะกรรมการกำกับการดำเนินโครงการพิจารณาให้ความเห็นชอบ (PSC) ในการเข้าร่วมโครงการตามความเห็นของคณะทำงานด้านเทคนิค

3.4 ดำเนินการตรวจวัดไดออกซินและมลพิษทางอากาศ ณ โรงงานตาม 3.1

     สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยประสานข้อมูลด้านเทคนิคกับผู้เชี่ยวชาญจาก UNIDO ในการจัดทำ Technical Annex

3.5 จัดทำร่างสัญญาและกำหนดวงเงินสนับสนุนไม่เกินข้อกำหนดของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) คือ 6:1 (เงินลงทุน : เงินสนับสนุน)

3.6 บริษัทลงนามในสัญญารับการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตฯ กับ UNIDO

3.7 โรงงานติดตั้งระบบฯ และเครื่องจักรใหม่

3.8 บริษัทโดยการสนับสนุนของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย จัดทำรายงานผลการปรับปรุงกระบวนการผลิตฯ

3.9 ผู้เชี่ยวชาญจาก UNIDO และ TWG3 ตรวจประเมินผลการปรับปรุงกระบวนการผลิตฯ ณ โรงงาน

3.10 โครงการจ่ายเงินสนับสนุนให้บริษัท


ข้อ 3.2 ถึง 3.6 ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน 3 - 6 เดือน

ข้อ 3.11 ถึง 3.12 ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน 3 เดือน



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ดร.กิตติพันธุ์ บางยี่ขัน โทรศัพท์ : 02-202-3902

คุณวราวรรณ เฉลิมโอฐ โทรศัพท์ : 02-202-3906 หรือ 098-976-3215

คุณณัฐพล องค์พิสุทธิ์ โทรศัพท์ : 02-712-6290 #211 E-mail : component3@isit.or.th